หนองหานด็อทคอม

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจัดการระบบสารสนเทศ

Service Profile IM

Service  Profile  IM
I-๔ การวัด วิเคราะห์ Performance ขององค์กรและการจัดการความรู้
เป้หมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
ปี๒๕๕๒
ปี๒๕๕๓
ปี๒๕๕๔
- Information System down time
- Information System Response 
< ๖๐นาที
๔๕
๑๗.๕๐
-It User Satisfaction
> ๘๕%
๖๔.๖๙
๗๒.๓๕
๖๗.๑๕
- Knowledge  asset  created
บริบท
โรงพยาบาลหนองหานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศโปรแกรม HOSxP มาช่วยในการบันทึกข้อมูลบริการตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ และได้พัฒนาระบบรายงาน และโปรแกรมเสริมระบบงานต่าง เช่น ระบบบริหารความเสี่ยง ,ความคลาดเคลื่อนทางยา ที่เชื่อมโยงกับโปรแกรม HOSxP กรรมการสารสนเทศได้ ติดตามควบคุมกำกับการลงบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูล การประมวลผลรายงาน สามารถค้นหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลังได้ถูกต้องและรวด เร็วและนำผลการดำเนินงานเสนอผ่านคณะกรรมการบริหารคุณภาพโรงพยาบาล   เพื่อแก้ไขปัญหา  อุปสรรค และสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นทั้ง  Hard Ware & Software  โดยกำหนดเป้าหมายของระบบสารสนเทศดังนี้
        มีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลในระบบสารสนเทศ
        ข้อมูลในระบบสารสนเทศเชื่อถือได้
        มีความปลอดภัยเป็นความลับ
        นำไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็วทันต่อเวลา
กระบวนกา: การวัดผลงาน
กลุ่มตัวชี้วัดที่มี Alignment ทั่วทั้งองค์กร
องค์กรเลือก รวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูล / สารสนเทศ / ตัวชี้วัดสำคัญที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อใช้ติดตามผลการปฏิบัติงานประจำวัน, ติดตามผลงานขององค์กรโดยรวม, ติดตามความก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ, สนับสนุนการตัดสินใจและการสร้างนวัตกรรมขององค์กร. 
       โรงพยาบาลหนองหานได้กำหนดความปลอดภัย ความพึงพอใจของผู้รับบริการและการสร้างสุขภาพ เป็นจุดเน้นในการพัฒนา ดังนั้น ทุกหน่วยงานจะมีตัวชี้วัดเกี่ยวกับ

       - ด้านความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ อัตราการพลัดตกหกล้ม อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน            
        - ด้านความพึงพอใจ ได้แก่ ร้อยละความพึงพอใจของแต่ละหน่วยงาน 
       -  ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ ร้อยละการใช้เครื่องป้องกันถูกต้อง    ร้อยละการล้างมือถูกต้อง   ร้อยละการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้งเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ เป็นต้น

ตัวอย่างการตัดสินใจ/นวัตกรรมที่เป็นผลจากการติดตามตัวชี้วัด
       จากการทบทวนตัวชี้วัด อัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วย COPD สูง จึงมีการปรับปรุงจัดคลินิกบริการผู้ป่วย COPD โดยมีทีมสหวิชาชีพ  เข้ามาดูแลผู้ป่วยและมีการวางแผนการจำหน่าย  การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยกลุ่มนี้
ข้อมูล Performance ขององค์กรที่มีการเปรียบเทียบกับองค์กรภายนอก
-      ทีมนำองค์กร ทีมคร่อมสายงาน และหน่วยงานใช้ข้อมูลการประมวลผลจากโปรแกรม HOSxP เป็นข้อมูลในอ้างอิงการนำไปใช้วางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการ การวิเคราะห์เงินการคลัง การปรับปรุงบริการในการดูแลผู้ป่วย การจัดทำรายงาน
-      ในปี ๒๕๕๕ กลุ่มเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนอุดรธานี ๑๘ แห่ง โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี  ได้ร่วมกันจัดทำข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ โดยมีคณะกรรมการ KM&IT ซึ่งเป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งร่วมประชุมพิจารณาคัดเลือกตัวชี้วัด เพื่อใช้เปรียบเทียบ (Benchmark)

การวิเคราะห์ ทบทวนและปรับปรุง Performance ขององค์กร

ประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล  Performance ขององค์กร ในรอบปีที่ผ่านมา
         จากการวิเคราะห์ข้อมูล Performance ของ องค์กร พบว่า ข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยที่มาวิเคราะห์เป็น ๒๑ แฟ้ม ไม่ถูกต้อง และครบถ้วน เนื่องจากการบันทึกรายละเอียดของข้อมูลในการให้บริการแต่ละครั้งบันทึกได้ ไม่ครบถ้วนและถูกต้อง
 ลำดับความสำคัญเพื่อการปรับปรุง  Performance ขององค์กร
       โรงพยาบาลได้มุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ บันทึกข้อมูลการให้บริการแต่ละครั้งให้ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อที่สามารถเรียกมาวิเคราะห์เป็นข้อมูล  ๒๑ แฟ้มในอนาคต ให้ได้ครบถ้วนและถูกต้อง   ตามมาตรฐานของ สนย.และ สปสช. 
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศIT module ทีมีใช้อยู่ในปัจจุบัน
    โรงพยาบาลหนองหาน มีการจัดการด้านทรัพยากร
 - ระบบบริการผู้ป่วย ได้แก่ Program HOS-xP  โรงพยาบาลได้นำระบบบริการผู้ป่วยระบบ HOSxP  มา
ใช้แทนโปรแกรม STAT ๒ เดิม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐  ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนมาใช้โปแกรม HOSxP สามารถตอบสนองความต้องการในด้านการดูแลผู้ป่วยซึ่งสามารถดูประวัติเก่าการเจ็บผู้ป่วยของผู้ป่วย การลงบันทึกผลการรักษาครบทุกจุดบริการ มีความพร้อมใช้งานตลอด ๒๔ ชม.
       - ระบบวิเคราะห์และชันสูตรโรค  ได้พัฒนาโดยนำ  Program LIS  เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้าระบบโปรแกรม HOSxP  อัตโนมัติเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อนและลดอัตราการรายงานข้อมูลผลผิดพลาด
               - งานสนับสนุน ได้แก่  โปรแกรมครุภัณฑ์     นำมาใช้ในการบริหารครุภัณฑ์และวัสดุคงคลังและวิเคราะห์ผลวัสดุคงเหลือ  ปริมาณการเบิกจ่ายวัสดุแต่ละประเภทและหน่วยงานต้นสังกัดที่เบิกจ่าย  
IT module ที่กำลังพัฒนาหรือมีแผนที่จะพัฒนาในอนาคต
     ในปี ๒๕๕๕ ได้พัฒนาระบบโปรแกรมพัสดุที่ครอบคลุมระบบงานซ่อมบำรุง  ระบบงานจัดซื้อจัดจ้าง  ระบบงานการแจ้งซ่อมผ่านระบบเครือข่าย  โดยจัดทีมเข้าร่วมอบรมการพัฒนาระบบโปรแกรมพัสดุระดับเครือข่าย
  มีแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพ  โดยสนับสนุนให้ รพ.สต ทุกแห่งใช้โปรแกรม HOSxP  PCU  โดยเชื่อมโยงข้อมูลการบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลและรพ.สต ผ่านระบบ Datacenter
 ความพร้อมใช้งานต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน
    การสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์มีความพร้อมใช้งานในภาวะฉุกเฉินนั้น ทางโรงพยาบาลได้มีการใช้ Server หลักในการเก็บข้อมูล ๒ เครื่อง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ ๑ เชื่อมต่อกับสำรองไฟฟ้าผู้ป่วยนอก เครื่องที่ ๒ เชื่อมต่อกับเครื่องสำรองไฟฟ้าตึกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินตึกใดตึกหนึ่ง ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาใช้งานไม่ได้จะทำการเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และเครื่องพิมพ์ไว้สำรองหากอุปกรณ์มีการชำรุด ส่วนคอมพิวเตอร์ที่ประจำแต่ละจุดบริการจะมีเครื่องสำรองไฟขนาดเล็กทุก เครื่องซึ่งจะสามารถสำรองไฟได้ประมาณ ๒๐ นาที ในกรณีที่โปรแกรม HOS-XP ไม่สามารถใช้งานได้จะทำการเชื่อมข้อมูลผู้ป่วยจาก Server ลงสู่คอมพิวเตอร์ Note Book เพื่อใช้ข้อมูลในการค้นหาเวชระเบียน (OPD card) ของผู้ป่วยและดำเนินการให้บริการผู้ป่วยต่อไปโดยใช้ระบบการบันทึกด้วยมือลงใน OPD card หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์จะทำการแก้ไขระบบและทำให้ระบบกลับมาใช้งานได้เป็นปกติภายใน ๑ ชั่วโมงถ้าไม่สามารถนำข้อมูลจากเครื่อง Server ทั้ง ๒ เครื่อง ก็จะนำข้อมูลที่สำรองไว้ในแผ่นซีดีมาใช้ทดแทน ในเวลาราชการหากการใช้งานโปรแกรมมีปัญหาเฉพาะจุดสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ทางโทรศัพท์ภายในและวันหยุดราชการสามารถติดต่อเจ้า หน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้โดยใช้โทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์บ้าน
การจัดการความรู้ขององค์กร
การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้
     โรงพยาบาลหนองหาน ได้มีกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยทุกหน่วยงานมีการทบทวนคู่มือ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางปฏิบัติที่สำคัญให้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งระดับองค์กร กลุ่มงานและหน่วยงาน ได้แก่
           - ระดับองค์กร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง กระบวนการคุณภาพ และPatient Safety เป็นต้น
           - ระดับกลุ่มงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการใช้กระบวนการพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพ และมาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล เป็นต้น
           - ระดับองค์กร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย การทบทวนดูแลผู้ป่วยใช้หลัก CTHER-HELF เป็นต้น
  การนำความรู้มาออกแบบระบบงาน/สร้างนวัตกรรม
        จากข้อมูลการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า มีการปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ Dysnea Score และ Peak Flow ประเมินผู้ป่วย  และมีการ Empowerment การบริหารปอด โดยใช้ขวดคู่มหัศจรรย์ ให้ผู้ป่วยบริหารปอดที่บ้าน  เป็นต้น
คุณภาพของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้
บทเรียนในการจัดการความมั่นคง ปลอดภัยระบบสารสนเทศ
    ด้านข้อมูลสารสนเทศและการบริการ

               โรงพยาบาลได้กำหนดการเข้าถึงข้อมูลโดยการกำหนดกลุ่มผู้ใช้งานในแต่ละประเภท  ได้แก่  กลุ่มผู้ดูแลระบบ  กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์/ พยาบาล   กลุ่มบุคลากรด้านเทคนิคบริการและบุคลากรสนับสนุนบริการโดยการกำหนดชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูล
      ด้านการจัดการความมั่นคง

               โรงพยาบาลได้มีระบบสำรองข้อมูลโดยการสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์มีความพร้อมใช้งานในภาวะฉุกเฉินนั้น ทางโรงพยาบาลได้มีการใช้ Server หลักในการเก็บข้อมูล ๒ เครื่องโดยถ่ายโอนข้อมูลจาก Server หลักไปสู่ Server สำรอง  และมีการสำรองข้อมูลลงในแผ่น ซีดี
 ผลการพัฒนาที่สำคัญ

การปรับปรุงระบบการวัด Performance ขององค์กร
      มีการวัด Performance ขององค์กรที่ชัดเจน
การปรับปรุงการจัดการความรู้
      มีการจัดการความรู้ โดยการทบทวนคู่มือ ระเบียบปฏิบัติ และวิธีปฏิบัติทุกปี
การปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
      ●  องค์กรสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน
     ด้านความปลอดภัย      มีการกำหนดรหัสในการเข้าถึงข้อมูลเป็นรายบุคคลหน้าที่ภาระงาน
หน่วยงานต้นสังกัด และระดับความลับของข้อมูล  โดยมีการกำหนดสิทธิการใช้ของข้อมูลของเจ้าหน้าที่แต่ระดับ  คือ  ๑. ระดับปฏิบัติงาน ๒ระดับหัวหน้างาน ๓. ระดับผู้บริหาร ๔. ผู้ดูแลระบบ
        การรักษาความลับผู้ป่วย    มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเดียวกับงานเวชระเบียน
ส่วนด้าน electronic files หรือการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยผ่านโปรแกรมเวชระเบียน HosXp มีการกำหนดรหัสในการเข้าถึงข้อมูล โดยมีการกำหนดสิทธิการบันทึก ใช้ของข้อมูลของรายบุคคลแบ่งตามหน้าที่ภาระงาน หน่วยงานต้นสังกัด และระดับความลับของข้อมูล
มาตรฐาน
Score
ประเด็นในแผนพัฒนา
๑๖. ระบบการวัดผลการดำเนินงาน
.
พัฒนา Individual Score Card
๑๗. การวิเคราะห์ข้อมูล และการทบทวนผลการดำเนินงาน
พัฒนาให้มีการใช้ข้อมูลทั่วทั้งองค์กร
๑๘.การจัดการสารสนเทศ
.
พัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ เชื่อได้ทั้งองค์กร
๑๙. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างบูรณาการ
๒๐. การจัดการความรู้
ส่งเสริมให้มีการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น